คริปโตถือเป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของ blockchain และไม่ใช่ว่าพึ่งจะมี แต่ความจริงแล้ว blockchain มีมานานมาก ๆ ตั้งแต่ช่วงยุคอินเตอร์เน็ตถือกำเนิด ซึ่งในปัจจุบันนี้คริปโตก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ และกลายเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็รู้จัก ซึ่งคริปโตเคอร์เรนซี่ตัวแรกก็คือ Bitcoin ที่ถือกำเนิดมาแล้วมากกว่า 10 ปี หลาย ๆ คนน่าจะรู้ว่า BTC เกิดการ Hard Fork มาแล้วหลายครั้ง แต่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจว่า Hard Fork คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และมีจุดประสงค์อะไร หรือแตกต่างกับ Soft Fork อย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปให้คุณได้เข้าใจเกี่ยวกับการ Hard Fork
ความหมายของ Hard Fork
Hard Fork พูดง่าย ๆ ก็คือการก๊อปปี้ ลอกเลียนแบบ หรืออัปเกรด ให้ชุดโค้ดของ Blockchain เกิดขึ้นมาเป็นอีกชุดโค้ดหนึ่ง ซึ่งการทำ Hard Fork ไม่ได้แปลว่าจะต้องลอกเลียนแบบ 100% เสมอไป หลาย ๆ ครั้งที่เกิดการ Hard Fork แล้ว Blockchain ตัวเก่าถูกทิ้ง ทำให้ในวงการยังมอง Hard Fork เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น และจะไม่ทำง่าย ๆ หากไม่ใช่เรื่องใหญ่จริง ๆ หรือไม่ใช่เรื่องจำเป็น
แต่ Hard Fork ก็ไม่ใช่ว่าเจ้าของโปรเจคเท่านั้นที่สามารถทำได้ เพราะอย่างที่เคยบอกไปแล้วว่าแม้แต่ Bitcoin ก็เคยถูก Hard Fork จากคนภายนอกมาแล้วเช่นกัน ดังนั้นการ Hard Fork จึงถือเป็นการเขียนโค้ดขึ้นมาใหม่จากโค้ดต้นฉบับ แต่จะยังคงความเป็นต้นฉบับไว้อยู่ อาจจะมีการอัปเกรดหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เช่น Bitcoin Cash ที่ Hard Fork มาจาก Bitcoin โดยจะมีขนาดของการทำธุรกรรมที่ใหญ่ขึ้น ทำให้ในเวลาเดียวกันสามารถทำได้หลายธุรกรรมมากขึ้น
Hard Fork ทำไปทำไม? มีประโยชน์อย่างไร
หลาย ๆ ครั้งที่การ Hard Fork ทำไปเพื่อที่จะอัปเกรดระบบ Blockchain ให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรืออาจจะ Hard Fork เช่น ETH ที่กำลังจะเกิด ETH 2.0 ในเร็ว ๆ นี้ แต่การ Hard Fork ที่ทำเพื่อแก้ไขปัญหาหลายแรง ซึ่งไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีปกติก็เกิดขึ้นบ่อย ๆ เช่นกัน อย่าง Terra chain ที่จำเป็นต้อง Hard Fork เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับ Algorithm ที่ทำให้เชนแตกไปเมื่อปี 2022
สรุปเลยคือ Hard Fork นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียในเวลาเดียวกัน ขึ้นอยู่กับเจตนาของเจ้าของโปรเจค แม้ว่าการ Hard Fork จะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ทำให้โปรเจคสูญเสียความน่าเชื่อถือ นักลงทุนไม่กล้าลงทุนเพิ่ม และหลาย ๆ ครั้งที่การ Hard Fork ทำให้เชนเก่านั้นถูกทิ้ง เชนใหม่ที่เกิดก็ใช่ว่าจะไปรอด แต่การ Hard Fork ก็ถือเป็นทางแก้ปัญหาเชิงเทคนิคที่น่าสนใจ และใช้งานได้จริงหนึ่งอย่างเลยทีเดียว
ข้อดีและข้อเสียของการ Hard Fork
ข้อดีของการ Hard Fork
เป็นการพัฒนาโปรเจค และแก้ไขข้อเสียของโปรเจคที่ได้ผลที่สุด เนื่องจากการปรับปรุงโปรเจคที่อยู่ในเชนเดิมหลาย ๆ ครั้งทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้งาน ดังนั้นการ Hard Fork จึงช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ดีเลยทีเดียว
ข้อเสียของการ Hard Fork
หลาย ๆ ครั้งการ Hard Fork มีความหมายเชิงนัยยะว่าการทิ้งโปรเจคเก่าสร้างโปรเจคใหม่ เพราะแก้ไขปัญหาในโปรเจคเก่าไม่ได้ ดังนั้นจึงมักจะเกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในโปรเจคเก่า ราคาตก และทำให้โปรเจคใหม่ที่เกิดขึ้นไม่มีนักลงทุนที่ไว้ใจ หรือมีแต่ไม่มากพอที่จะดันราคาให้สเถียร และโปรเจคทั้งสองก็จะตายไปในที่สุด
ดังนั้น การ Hard Fork จึงต้องพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัยก่อนที่จะเริ่มทำ ซึ่งก็ใช่ว่าจะทำได้ง่าย ๆ เพราะต้องอาศัยความรู้เชิงเทคนิคชั้นสูงมาก ๆ และจะมีผลกระทบต่อวงกว้างทั้งโปรเจคเก่าและโปรเจคใหม่ที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้การ Hard Fork ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดเชิงเทคนิค และทำให้ถูกโจมตีได้อีกด้วย